บริการงานกงสุล

บริการงานกงสุล

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 18 ต.ค. 2566

| 1,807 view

มอบอำนาจและหนังสือยินยอม

 

ก. ข้อมูลทั่วไป

ชาวไทยที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศเยอรมนีที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยไปดำเนินเรื่องต่อทางราชการในประเทศไทย (เป็นต้นว่า ขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส/หลังการหย่า) สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ญาติพี่น้องหรือเพื่อน ไปดำเนินการแทนได้

โดยต้องมายื่นคำร้องขอมอบอำนาจด้วยตัวเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (ไม่สามารถยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ได้) โดยจะต้องนัดหมายล่วงหน้ากับแผนกนิติกรณ์ (คลิกที่นี่เพื่อสำรองนัดหมาย)

  1. ผู้รับมอบอำนาจ
    ผู้มอบอำนาจต้องทราบชื่อผู้รับมอบอำนาจและที่อยู่ ตามที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนอย่างชัดเจน ต้องนำสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจมายื่นด้วย
  2. เอกสารหลักในการทำหนังสือมอบอำนาจ
    • หนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ
    • ทะเบียนบ้านไทยของผู้มอบอำนาจ
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
    • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีของผู้มอบอำนาจ (Meldebestätigung)
    • สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจ
    • ซองขนาด A4 ติดแสตมป์ 4.25 ยูโร จ่าหน้าซองชื่อ-ที่อยู่ของตนเอง

    เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล เป็นต้น

    จำนวนสำเนาของเอกสารหลักที่ต้องใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนมอบอำนาจที่ต้องการทำ โดยปกติแล้วต้องใช้สำเนาของเอกสารหลักและเอกสารเพิ่มเติมอื่น ๆ อย่างละ 2 ชุด ต่อการดำเนินเรื่องกับหน่วยงานราชการ 1 ที่ ผู้ยื่นคำร้องต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น


ข. มอบอำนาจที่มีผู้ยื่นคำร้องขอเป็นประจำ

  • มอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้นคือ
    • หนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14) หรือบันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ โดยเสียค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
    • สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
    • สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร
  • มอบอำนาจขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้นคือ
    • บันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
    • สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
    • สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร
  • มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้นคือ
    • หากแต่งตามกฎหมายเยอรมัน ทะเบียนสมรสเยอรมันและคำแปลที่ได้รับการรับรองจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ แล้ว (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ “การรับรองเอกสาร”) หรือ
    • ทะเบียนสมรสไทย หากแต่งตามกฎหมายไทยที่สถานกงสูลใหญ่ ฯ หรือ สถานเอกอัครราชทูต ฯ
  • มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้นคือ
    • คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลที่ได้รับการรับรองจากสถานกงสุล ฯ หรือสถานทูตแล้ว (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ “การรับรองเอกสาร”) หากหย่าตามกฎหมายเยอรมัน หรือ
    • ทะเบียนการหย่าไทย หากหย่าตามกฎหมายไทยที่สถานกงสูลใหญ่ ฯ หรือ สถานเอกอัครราชทูต ฯ
  • มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)
  • มอบอำนาจขอคัดสำเนาสูติบัตรหรือขอหนังสือรับรองเกิด
  • มอบอำนาจขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านหรือขอแบบรายการทะเบียนราษฎร
  • มอบอำนาจซื้อขาย/จำนองที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มของสำนักงานที่ดิน) เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้นคือ
    • โฉนดที่ดิน
    • นส. 3 เป็นต้น