บริการงานกงสุล

บริการงานกงสุล

วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 18 ต.ค. 2566

| 786 view

จดทะเบียนหย่าตามกฎหมายไทยที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ

 

คำร้องนิติกรณ์ขอจดทะเบียนหย่า (แบบ PDF)

สถานกงสุลใหญ่ ฯ รับจดทะเบียนหย่าเฉพาะคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยเท่านั้น และฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (หรือทั้ง 2 ฝ่าย) ต้องไม่มีสัญชาติเยอรมัน

ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะต้องส่งเอกสารมาทางไปรษณีย์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนทำการนัดหมาย โดยต้องยื่นเอกสารเหมือนกัน ดังนี้

  • ใบสำคัญการจดทะเบียนสมรสตัวจริง คนละ 1 ชุด
  • ทะเบียนการสมรสตัวจริง คนละ 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทาง คนละ 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน คนละ 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) คนละ 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทยของพยานบุคคล สัญชาติไทยที่อายุ 20 ปีขึ้นไป (ในวันนัดหมายจดทะเบียนหย่า พยานบุคคลทั้ง 2 ราย ต้องมาลงนามในทะเบียนหย่าพร้อมฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงด้วย)

ถ้าฝ่ายหญิงยังไม่เคยไปเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส ต้องไปเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่อำเภอในประเทศไทยที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบ้านให้เรียบร้อย ก่อนมายื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่า

ถ้าท่านอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยไปดำเนินการด้วยตนเองได้ ท่านสามารถเดินทางไปยื่นคำร้องมอบอำนาจที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ เพื่อให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะไปดำเนินการเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสแทนท่านได้ (ดูข้อมูลมอบอำนาจที่ “มอบอำนาจและหนังสือยินยอม”)

หลังจากท่านได้ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารประกอบและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้วและไม่มีข้อขัดข้องประการใด เจ้าหน้าที่จะนัดหมายให้ท่านเดินทางไปจดทะเบียนหย่าที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ

ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 มาตรา 13 วรรค 1 หลังการหย่าหญิงไทยทุกคนต้องกลับมาใช้นามสกุลเดิมของตน (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ “พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548”)