การใช้ชื่อสกุลตามพระราชบัญญัติการใช้ชื่อสกุลตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548
การใช้ชื่อสกุลตามพระราชบัญญัติการใช้ชื่อสกุลตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548
วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ต.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 1 พ.ย. 2565
| 17,116 view
สาระสำคัญของพระราชบัญญติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 มีดังนี้
- การใช้ชื่อนามสกุลหลังการสมรสคู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเดิมของตน การตกลงกันนี้ คู่สมรสจะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้หรือจะตกลงเปลี่ยนแปลงภายหลังก็ได้ (ตามความในมาตรา 12) ซึ่งจะทำให้คู่สมรสเลือกใช้นามสกุลได้ 4 แบบ คือ
แบบ |
ชาย |
หญิง |
1 |
ชายใช้นามสกุลชาย |
หญิงใช้นามสกุลหญิง (คงนามสกุลเดิมทั้งคู่) |
2 |
ชายใช้นามสกุลชาย |
หญิงใช้นามสกุลชาย (รูปแบบเดิม) |
3 |
ชายใช้นามสกุลหญิง |
หญิงใช้นามสกุลหญิง (ชายเปลี่ยน/หญิงไม่เปลี่ยน) |
4 |
ชายใช้นามสกุลหญิง |
หญิงใช้นามสกุลชาย (สลับนามสกุลกัน) |
-
สำหรับหญิงมีสามีซึ่งใช้นามสกุลของสามีก่อนวันที่พระราชบัญญติชื่อบุคคลนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิใช้นามสกุลของสามีต่อไปได้ หรือจะกลับมาใช้นามสกุลเดิมของตนก็ได้ หรือจะตกลงใหม่ระหว่างสามีภรรยาเป็นประการอื่นได้ (ตามความในมาตรา 9)
หากท่านใดต้องการเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสให้สอดคล้องกับพระราชบัญญติชื่อบุคคลฉบับใหม่นี้ สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
- หญิงแต่งงานที่ใช้นามสกุลของสามีอยู่แล้ว (ในทะเบียนบ้านไทย) ต้องการใช้นามสกุลของสามีต่อไป สามารถใช้นามสกุลของสามีต่อไปได้
- หญิงแต่งงานที่ใช้นามสกุลของสามีแล้ว (ในทะเบียนบ้านไทย) แต่ต้องการกลับมาใช้นามสกุลเดิมของตนเอง สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุลได้ที่อำเภอที่ตนเองมีทะเบียนบ้านอยู่ (กรณีสมรสตามกฎหมายเยอรมัน การเลือกใช้นามสกุลในเอกสารไทยต้องสอดคล้องกับการใช้นามสกุลของตนเองตามกฎหมายเยอรมันด้วย)
- หญิงแต่งงานที่ใช้นามสกุลตามกำเนิดของตนเองเป็นนามสกุลหลังสมรส สามารถเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของคู่สมรสในภายหลังได้ โดยยื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุลได้ที่อำเภอที่ตนเองมีทะเบียนบ้านอยู่ (กรณีสมรสตามกฎหมายเยอรมัน การเลือกใช้นามสกุลในเอกสารไทยต้องสอดคล้องกับการใช้นามสกุลของตนเองตามกฎหมายเยอรมันด้วย)