บริการงานกงสุล

บริการงานกงสุล

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 18 ต.ค. 2566

| 2,261 view

การรับรองเอกสาร/รับรองสัญญาจ้างงาน

 

ก. ชนิดของการรับรองเอกสาร

  1. การรับรองใบสำคัญเยอรมันพร้อมคำแปลภาษาไทย เพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทย เช่น ใบสำคัญต่อไปนี้
    • ใบสำคัญการสมรสเยอรมันหรือสำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสเยอรมัน (แบบหลายภาษา) พร้อมคำแปล
    • คำพิพากษาหย่าเยอรมัน พร้อมคำแปล
    • มรณบัตรเยอรมัน พร้อมคำแปล
    • ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน พร้อมคำแปล
    • สัญญาจ้างงานพ่อครัว/แม่ครัว
    • หนังสือรับรองของคู่สมรสชาวต่างชาติสำหรับซื้อที่ดินในประเทศไทย (Letter of Confirmation)
      - นำแบบฟอร์มหนังสือรับรอง (Letter of Confirmation) ไปลงนามต่อหน้าสำนักทนาย (Notar)
      - นำหนังสือรับรองดังกล่าว ไปรับรองที่ศาลประจำรัฐ (Landgericht)
      - นำหนังสือรับรองที่ได้รับรองจากศาลประจำรัฐ มาขอยื่นรับรองเอกสารที่สถานกงสุลใหญ่ฯ โดยสามารถยื่นได้ด้วยตัวเองหรือทางไปรษณีย์

    ก่อนนำเอกสารดังกล่าวข้างต้นไปแปลเป็นภาษาไทย เอกสารดังกล่าวต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานบริหารการปกครองของแต่ละรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือ ผ่านการรับรองจากศาลประจำรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ “รายชื่อหน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน”

    หมายเหตุ – เอกสารบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (Familenbuch) และ ใบรับรองการสมรส (Bescheinigung über die Eheschließung) ไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสได้

  2. การรับรองเอกสารการค้าเยอรมัน (Free-Sale-Dokumenten)
    • เอกสารทางการค้าเยอรมัน (ทั้งที่เป็นภาษาเยอรมันหรือภาษาอังกฤษ) ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องมาก่อน (เช่นสำนักงานบริหารการปกครอง หรือ ศาลประจำรัฐ เป็นต้น)
    • สถานกงสุลใหญ่ฯ ไม่สามารถรับรองเอกสารทางการค้าเยอรมันที่ไม่ได้รับรองจากหน่วยงานราชการเยอรมันมาก่อน
    • หากเอกสารการค้ามีคำแปลภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยด้วย ต้นฉบับกับคำแปลต้องเย็บติดกัน และ ล่ามผู้แปลต้องลงลายมือชื่อกำกับมุมที่เอกสารเย็บติดกันดัวย
    • หากเป็นคำแปลภาษาไทย ต้องเป็นคำแปลจากล่ามภาษาไทยที่ได้รับอนุญาตจากศาล ในกรณีนี้ไม่ต้องนำลายมือชื่อของล่ามภาษาไทยไปให้โนตารี่พับลิคหรือศาลรับรองแต่อย่างใด สถานกงสุลใหญ่ฯ มีรายชื่อล่ามภาษาไทยที่ได้รับอนุญาตจากศาล
  3. เอกสารอื่นที่ออกโดยหน่วยงานเยอรมัน จะต้องผ่านการรับรองจากโนตารี่พับลิค และ ผ่านการรับรองจากศาลประจำรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน
  4. เอกสารจากประเทศอื่นที่ไม่ได้ออกให้โดยหน่วยงานเยอรมัน จะต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยประจำประเทศนั้นๆ ก่อน
  5. การรับรองลายมือชื่อ

 

ข. การยื่นคำร้อง - ยื่นด้วยตัวเองโดยจะต้องนัดหมายล่วงหน้ากับแผนกนิติกรณ์ (คลิกที่นี่เพื่อสำรองนัดหมาย) หรือทางไปรษณีย์

  1. เอกสารทางราชการเยอรมัน (ใบสำคัญต่างๆ พร้อมคำแปล)
    • คำร้อง
    • เอกสารตัวจริงและคำเแปล พร้อมสำเนา 1 ชุด
    • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ยื่นคำร้อง 1 ชุด
    • ค่าธรรมเนียมเป็นเงินสด (ดูข้อ ค.)
    • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4.25 ยูโร
  2. เอกสารทางการค้าเยอรมัน
    • คำร้อง
    • เอกสารตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
    • หนังสือจากบริษัท
    • ค่าธรรมเนียมเป็นเงินสด (ดูข้อ ค.)
    • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4.25 ยูโร หรือ ตามน้ำหนักของเอกสาร
      หากเอกสารนั้น เจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลใหญ่ ฯ ไม่สามารถนำไปส่งยังที่ทำการไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่ ฯ จะแจ้งให้บริษัททราบ ทางบริษัทต้องมารับเอกสารดัวยตัวเองหรือส่งบริษัทรับส่งของ (Kurier) มารับและต้องรับผิดชอบค่าจ่ายในการนี้เอง

 

ค. ค่าธรรมเนียม

  • ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า มรณบัตร พร้อมคำแปล ค่าธรรมเนียม 30 ยูโร
  • รับรองเอกสารการค้าเยอรมัน ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร
  • รับรองคำแปลอย่างเดียว ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร
  • รับรองลายมือชื่อ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร
  • ค่าธรรมเนียมจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น