บริการงานกงสุล

บริการงานกงสุล

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 18 ต.ค. 2566

| 999 view

การแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า

 

ตามพระราชบัญญัติชื่อ พ.ศ. 2505 ปรับปรุง พ.ศ. 2530 มาตรา 13 หญิงไทยทุกคนต้องกลับมาใช้นามสกุลเดิมหลังการหย่า

การแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) ในประเทศไทย

  1. นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้วไปรับรองลายมือชื่อจากศาลสูงของแต่ละรัฐ
  2. นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้ว ไปให้ล่ามที่มีใบอนุญาตจากศาลแปลเป็นภาษาไทย และมอบสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านให้ล่ามด้วย 1 ชุด เพื่อให้ล่ามแปลชื่อ-นามสกุลของท่านให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ล่ามต้องเย็บคำแปลภาษาไทยและต้นฉบับภาษาเยอรมัน เข้าด้วยกันเป็น 1 ชุด พร้อมประทับตราและลงลายมือชื่อรับรองการแปลด้วย
  3. นำคำพิพากษาหย่าและคำแปล (เอกสารจากข้อ 2) มารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ (ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร) (ดูข้อมูลการรับรองทะเบียนสมรสที่ “การรับรองเอกสาร”)
  4. นำคำพิพากษาหย่าและคำแปล (เอกสารจากข้อ 3) ที่รับรองมาจากสถานกงสุลใหญ่ฯ ไปรับรองครั้งสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. +66 (0) 2 575 1057-9, แฟกซ์ +66 (0) 2 575 1054
  5. นำคำพิพากษาหย่าและคำแปลที่รับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ (เอกสารจากข้อ 4) ไปแจ้งนายทะเบียนที่เขต/อำเภอ ที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่าในประเทศไทย (คร. 22) และขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านภายหลังการสมรสตามสามีต่อไป หลังจากนั้นจึงนำทะเบียนบ้านไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัวใหม่บัตรประจำตัวประชาชนต้องไปทำด้วยตัวเองที่ประเทศไทยเท่านั้น ส่วนการแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า สามารถมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องไปดำเนินการให้ได้ (ดูข้อมูลการทำมอบอำนาจที่ “มอบอำนาจและหนังสือยินยอม”)